พันธะเคมี ( Chemical Bond) คือ
แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมเพื่อเกิดเป็นกลุ่มที่เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล
ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของพันธะเคมีในโมเลกุลคือจะปรากฏในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของอะตอม ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
ซึ่งอาจจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก หรือพันธะโลหะ ได้ อนึ่ง
การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถเข้าใจและทำนายสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารได้
พันธะโลหะ
พันธะโลหะ ( Metallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะ
ดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลวอะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ (period) หรือระดับพลังงานของพวกมัน
อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก ยังไม่สามารถเขียนเป็นสูตรทางเคมีได้
เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง พันธะโลหะอาจจะมีเป็นล้าน ๆ อะตอมก็ได้
แสดงการเกิดพันธะโลหะ
ข้อมูลพันธะโลหะ
พันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์
ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่าง อิเล็กโตรเนกาทิวิตีระหว่างอะตอม
ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ
และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ
พันธะโลหะเขียนสูตรทางเคมีไม่ได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง
อาจจะมีเป็นล้านๆ อะตอมก็ได้
พันธะโลหะเป็นแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต (electrostatic
attraction) ระหว่างอะตอม หรือ ไออนของโลหะ และ
อิเล็กตรอนอิสระ(delocalised electrons) นี่คือเหตุว่าทำไมอะตอมหรือชั้นของมันยอมให้มีการเลื่อนไถลไปมาระหว่างกันและกันได้
เป็นผลให้โลหะมีคุณสมบัติที่สามารถตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้
คุณสมบัติของพันธะโลหะ
• นำความร้อนได้ดี
• นำไฟฟ้าได้
• รีดเป็นแผ่นได้ง่าย
• ดึงเป็นเส้นยาว ๆ ได้โดยไม่ขาดง่าย
• จุดหลอมเหลวสูง
• มีความเป็นมันวาว
• เชื่อมต่อกันได้
ตัวอย่างสารประกอบ
Na , Mg , Al , Fa , Cu
การนำไปใช้ประโยชน์
ปัจจุบันนี้ มีโลหะหลายสิบชนิดที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรม
เพื่อทำเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
โลหะที่พบมากในชีวิตประจำวันได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม เงิน ทองแดง นิกเกิล
โครเมียม ฯลฯ โลหะที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ทั้งในรูปที่เป็นโลหะชนิดเดียวบริสุทธิ์ เช่น
ทองแดงใช้ทำสายไฟ อะลูมิเนียมใช้ทำภาชนะในครัวเรือน เพราะไม่ขึ้นสนิมง่าย และในรูปที่เป็นโลหะผสม
เช่น ทองเหลือง สัมฤทธิ์ เหล็กกล้าผสม เป็นต้น มีการค้นคว้าหาโลหะ หรือโลหะผสมที่มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะมากขึ้น
เช่น โลหะที่มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงสูงเพื่อใช้กับอากาศยาน
หรือโลหะที่ทนความร้อนสูง ทนต่อการสึกกร่อน (abrasion) วิวัฒนาการของโลหะต้องใช้เทคโนโลยีสูงทางด้านโลหะกรรม
(metallurgy) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีวัตถุอื่น เช่น
พอลีเมอร์ (polymer) เข้ามาใช้ประโยชน์แทนโลหะ
แต่โลหะยังมีความสำคัญต่อไปอีก
โดยเฉพาะเหล็กเทคโนโลยีทางด้านโลหะกรรมกำลังได้รับการพัฒนาอย่างเร่งรีบ
โลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมแบ่งกว้างๆ ออกเป็น ๒ ประเภทคือ โลหะที่เป็นเหล็ก (ferrous
metals) และโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (non-ferrous metals) เหล็กเป็นโลหะที่ใช้มากที่สุดประมาณร้อยละ96ของโลหะที่ใช้ประโยชน์ในโลก
และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง
พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก (Ionic bonding) เป็นพันธะเคมีชนิดหนึ่ง เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก
ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ
เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน
ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่มีพันธะไอออนิกจะมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์
ข้อมูลพันธะไอออนิก
เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง
2 อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก
โลหะส่วนใหญ่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำจึงเสียอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมของอโลหะซึ่งมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูง
และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบ ๆ อะตอมครบ 8 ( octat rule ) โลหะกลายเป็นไอออนบวก
และอโลหะกลายเป็นไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ
และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น โดยแรงดึงดูดจะแปรผันโดยตรงกับจำนวนประจุบวกและลบของไอออนทั้งสองที่ยึดติดกัน
ดังนั้นค่าประจุยิ่งมาก แรงดึงดูดยิ่งมาก พันธะยิ่งแข็งแรง
และแรงดึงดูดจะแปรผกผันกับระยะทางระหว่างไอออนทั้งสอง
ไอออนบวกและไอออนลบอยู่ห่างกันมาก แรงดึงดูดจะน้อยลง
ตัวอย่างสารประกอบ
NaCI โซเดียมคลอไรด์ ,
CaF2แคลเซี่ยมฟลูออไรด์ , Na2so4 โซเดี่ยมวัลเฟต
, CaCO3 แคลเซี่ยมคาร์บอเนต , FeCl2 โอร์รอน
คุณสมบัติของพันธะไอออนนิก
1.มีขั้ว (Polar nature) สารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว
แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมากซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2.นำไฟฟ้าได้
เมื่อใส่สารประกอบไอออนนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้ ในทำนองเดียวกัน สารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วย เนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอน ทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3.มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
เพราะต้องการพลังงานความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวหรือกลายเป็นไอตามที่ต้องการ
4.การละลาย (Solubility) สารประกอบไอออนิกจะละลายในน้ำแต่ไม่ละลายในเบนซีนหรือตัวทำละลายอินทรีย์
น้ำและตัวทำละลายชนิดมีขั้วอื่น ๆ จะมีค่า dielectric constant สูง ซึ่งจะทำให้แรงดึงดูดไฟฟ้าที่ดึงดูดระหว่างไอออนอ่อนลง
ทำให้ไอออนแยกจากกัน
การประทะกัน (interaction) ระหว่างไอออนและโมเลกุลที่มีขั้ว (Polar nature) จึงช่วยในขบวนการ dissociation (disssociation )
เป็นขบวนการที่สารแตกตัวออกเป็นไอออนเมื่อละลายในน้ำ)
ตัวทำละลายอินทรีย์ มี dielectric constant ต่ำและมักเป็นสารประกอบ
ที่ไม่มีขั้ว สารประกอบไอออนิกโดยทั่ว ๆ
ไปจะไม่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว
5.สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกริยาไอออนิก
คือ ปฏิกริยาระหว่างไอออนกับไอออน
ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฎิกริยาจึงเกิดทันที
6. สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง
จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
การนำไปใช้ประโยชน์
เนื่องจากสารประกอบไอออนิกเป็นสารโคเวเลนต์และโลหะ
มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างกัน
-แอมโมเนี่ยมคลอไรด์ (NH4Cl) และซิงค์คลอไรด์ (zncl2) เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัว
เป็นไอออนิกเมื่อละสายน้ำจึงสามารถนำไปใช้สารอิเล็กโทรไลด์ในถ่ายไฟฉายได้
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโคเวเลนต์
คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างธาตุที่มีค่าENใกล้เคียงกัน (และค่าEN ที่ค่ามาก) อะตอมที่เกิดพันธะจะใช้วาเลน์อิเล็กตรอนร่วมกันในการเกิดพันธะทำให้เสถียรขึ้น
ข้อมูลพันธะโคเวเลนต์
อะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก
เช่นธาตุหมู่ Vl และหมู่Vll เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆกับพันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนก่าทิวิตีใกล้เคียงกัน
ธาตุอโลหะสร้างพอลิเมอร์หลายๆกระบวนการเป็นต้น
ตัวอย่างสารประกอบ
1.พันธะเดี่ยว (Single
covalent bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 อิเล็กตรอน เช่น F2
Cl2 CH4 เป็นต้น
2.พันธะคู่ (Doublecovalent
bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสองเป็นคู่หรือ 2
อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4 เป็นต้น
3. พันธะสาม (triple
covalent bond) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3
อิเล็กตรอนของธาตุทั้งสอง เช่น N2 C2H2 เป็นต้น
สมบัติของพันธะโคเวเลนต์
1.
มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลวหรือแก๊ส
2.
มีจุดหลอมเหลวต่ำ
หลอมเหลวง่ายเนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่ไม่แข็งแรง
สามารถถูกทำรายได้ง่าย
3.
มีทั้งละลายน้ำไม่ละลายน้ำ
4.
สารประกอบโคเวนต์ไม่นำไฟฟ้าเนื่องจากมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง
และอิเล็กตรอนทั้งหมดถูกใช้เป็นอิเล็กตรอน
การนำไปใช้ประโยนช์
พอลินิลคลอไรด์หรือPVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้
จึงนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
No comments:
Post a Comment